หลักการ
Geographic Information System หรือ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ เป็นระบบที่ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาประยุกต์และใช้งานร่วมกับวิชาการด้านภูมิศาสตร์ และงานด้านแผนที่ เพื่อให้เกิดมิติของการเรียนรู้และการพัฒนา ตลอดจนการวางแผนพัฒนาในด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาประเทศ โดย GIS จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ และแสดงผล ให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ไม่เฉพาะแต่เพียงตัวเลข แต่สามารถแสดงผลได้ทั้งเชิงตัวเลขและเชิงภูมิศาสตร์ประกอบกัน ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานต่าง ๆได้หลายประเภท อาทิ งานด้านผังเมือง งานด้านระบบจราจร งานด้านระบบขนส่ง ระบบโครงข่ายสื่อสาร งานสัมโนประชากร งานด้านการทหาร งานด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบ GIS
•Software Engine หรือ Software Development Tools
"Software Engine เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของระบบ GIS ที่ Programmer สามารถนำไปใช้ประกอบในการพัฒนาเครื่องมือในการสร้างโปรแกรมทางด้าน GIS (Software Development Tools) หรือนำไปใช้พัฒนาซอฟท์แวร์ประยุกต์ (GIS Software Application) ต่าง ๆ โดยการนำไปใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของงาน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัย ผู้เชี่ยวชาญของงานแต่ละประเภทเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย" "Software Engine โดยทั่วไปจะถูกนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานโดยทั่วไป ในรูปของ Software Development Tools โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมขั้นสูงก็สามารถที่จะพัฒนา Application ของตนเองได้ Software ที่ได้รับนิยมทั่วไปในปัจจุบัน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของ MapInfo, MapServer, Blue Marble Geographics, InterGraph ฯลฯ ซึ่งการใช้งานจะเหมาะสำหรับลักษณะงานโดยทั่วไป หน่วยงานสามารถที่ดำเนินการพัฒนาได้เอง โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เราต้องการทำ" "สำหรับงานขนาดใหญ่ และมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก และมีรูปแบบการใช้งานที่มีความยุ่งยาก และซับซ้อน และต้องการความน่าเชื่อถือสูง Software ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ SmallWorld, ESRI ฯลฯ เป็นต้น แต่มีราคาค่อนข้างสูงมาก"
•โปรแกรมประยุกต์ (Software Application)
"Software Application คือ โปรแกรมประยุกต์ ที่พัฒนาขึ้นจาก Software Tools โดยมีวัตถุประสงค์ตามลักษณะของการนำไปใช้งาน จากที่กล่าวข้างต้น Software Application สามารถที่จะพัฒนาเองได้หากได้รับการฝึกอบรมที่เพียงพอ และโปรแกรมไม่มีความซับซ้อนมาก แต่หากมีความยุ่งยากซับซ้อนมาก หรือต้องการความรวดเร็วในการใช้งาน ก็สามารถใช้ Software Application สำเร็จรูปที่มีอยู่ในท้องตลาดได้ หรือสามารถ Outsourcing ไปยังหน่วยงานที่มีความชำนาญเป็นผู้พัฒนาให้ได้ " "เนื่องจาก GIS Application ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่นำไปใช้ การเลือกใช้ Software Application สำเร็จรูปจึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆไป "
•แผนที่ดิจิตอล (Digital Map)
"Digital Map หรือ Electronic Map ได้แก่แผนที่ที่อยู่ในรูปของ Vector Map โดยจะต้องเป็นแผนที่ที่ต้องการศึกษาหรือใช้งาน มีมาตราส่วนต่าง ๆ อาทิ 1:1,000, 1:4,000, 1:50,000, 1:250,000 เป็นต้น "
"การจัดหาแผนที่ ได้จากการจัดซื้อโดยตรง (ถ้ามี) หรือจัดซื้อภาพถ่ายทางอากาศ และนำมา Digitize ให้อยู่ในรูปของ Vector หรือ Shape file แต่ก่อนที่จำสามารถนำแผนที่มาใช้งานได้ต้องมีการออกสำรวจพิ้นที่เพื่อทำการตรวจสอบชื่อ ตำแหน่ง ของสถานที่ที่จะมีการกำหนดลงบนแผนที่เสียก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง "
"การจัดหาแผนที่อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การทำการสำรวจโดยตรง ซึ่งวิธีหลังนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และความคลาดเคลื่อนของข้อมูลค่อนข้างสูงมากด้วยเช่นกัน "
•ระบบฐานข้อมูล (Database System)
"ระบบฐานข้อมูล (Database System) ที่ใช้ในงาน GIS มีลักษณะเช่นเดียวกับระบบฐานข้อมูลในระบบอื่นๆทั่วไป การจัดการระบบข้อมูลขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบ และวิธีการจัดการข้อมูล แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันมากนัก "
"ระบบฐานข้อมูลที่เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลของ Oracle, Informix (ปัจจุบันได้ถูกบริษัท IBM ซื้อไปเป็นส่วนหนึ่งของ IBM แล้ว), SQL Server, DB2 ฯลฯ ซึ่งแม้แต่ Microsoft Access ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดเล็กก็สามารถนำมาใช้งานได้ หากระบบ GIS ที่ต้องการมีขนาดจำกัด และเป็นลักษณะการใช้งานแบบ Stand alone "
•ข้อมูล (Data)
"Data หรือข้อมูล สำหรับงานระบบ GIS ประกอบด้วย 2 ชนิด ได้แก่ ข้อมูลด้านแผนที่ และข้อมูลที่ใช้กับ Application อาทิ กรณีนำ GIS ไปใช้กับงานด้านการจราจร จะต้องมีข้อมูลด้านการจราจรอาทิ รายชื่อถนน ซอย จำนวนรถยนต์ ประเภทของรถยนต์ ฯลฯ ที่จำเป็นและต้องใช้ประกอบการพิจารณางานด้านการจราจร หรือการนำ GIS ไปใช้งานด้านการประเมินอสังหาริมทรัพย์ จะต้องมีข้อมูลด้านราคาที่ดิน ราคาค่าสิ่งปลูกสร้าง แนวเวนคืน สีผังเมือง ฯลฯ เป็นต้น "
"ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล และปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ ค่อนข้างสูงและใช้เวลาในการดำเนินการมาก โดยเฉลี่ยสำหรับงานที่เก็บข้อมูลบนพื้นดิน ที่มาตราส่วน 1:4,000 มีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาทต่อตารางกิโลเมตร การ Survey เพื่อเก็บข้อมูลจะมีค่าใช้จ่ายแปรตามปริมาณและประเภทของข้อมูล ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึงกว่า 100,000.-บาทต่อตารางกิโลเมตร "
ที่มา http://www.thaiappraisal.org/thai/monthly/monthly_view.php?strquery=defaultdata.21.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น