การตั้งถิ่นฐานของประชากรในประเทศไทยและเอเชียมีพัฒนาการดังนี้
1. สังคมล่าสัตว์ ( กลุ่มชนเร่ร่อน )
มีการพบหลักฐานแสดงความเป็นอยู่ของผู้คนในดินแดนประเทศไทยในช่วงแรกๆใช้ชีวิตอยู่
ตามธรรมชาติ ดำรงชีวิตด้วยการจับสัตว์ เก็บของป่ากินเป็นอาหารโดยใช้มือ ไม้ ก้อนหิน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติเป็นเครื่องมือ ดังปรากฏหลักฐานที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันคือ เครื่องมือกระเทาะหยาบๆที่เรียกว่า ขวานกำปั้น ผู้คนอยู้รวมกันเป็นกลุ่มหรือครอบครัวขนาดเล็กใช้ชีวิตเร่ร่อนเพื่อหาแหล่งอุดมสมบูรณืของอาหาร อาศัยถ้ำ ซอกเพิงผาเป็นที่อาศัยแหล่งที่พบเครื่องมือหินกระเทาะหยาบๆที่เรียกว่าขวานกำปั้นได้แก่ พม่า ในลาว ในไทยซึ่งได้แก่ ต. บ้านเก่า อ.เมือง
จ. กาญจนบุรี อ.เมือง จ.ราชบุรี อ.บ้านหมี่ จ. ลพบุรี อ. เชียงแสน จ.เชียงราย อ.จอมทอง
จ. เชียงใหม่ เครื่องหินที่พบมีอายุประมาณ 9500-7500 ปีก่อนพุทธศักราช และมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ชวาเมื่อปี ค.ศ. 1819 ในเกาะชวาภาคกลางด้วย
2. สังคมระดับหมู่บ้าน
มีการพัฒนาด้านชีวิตความเป็นอยู่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้านรู้จักการเพาะปลูก
สร้างบ้านเรือน รูจักประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้ประณีตมากขึ้น และมีรูปร่างต่างๆในการทำภาชนะดินเผามีการทำลวดลายด้วยการใช้สี เครื่องประดับด้วยหิน กระดูกสัตว์และเปลือกหอย พบโครงกระดูกมนุษย์แสดงร่องรอยของการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพ ที่ตำบลบ้านเก่า
อ. เมือง จ. กาญจนบุรี ผู้คนในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ นับถือผีบรรพบุรุษและร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ที่เรียกว่า ลงแขก พบร่องรอยสังคมหมู่บ้านกระจายอยู่ทั่วไปเกือบทุกภาค เช่น กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสวรรค์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ตรัง เป็นต้น ผู้คนในสมัยสังคมหมู่บ้านรู้จักทำเครื่องใช้ ด้วยโลหะสำริด เช่น กลองมะโหระทึก อาวุธ และภาชนะต่างๆดังปรากฎที่เมืองดองซอน ประเทศเวียดนาม เรียกว่า วัฒนธรรมดองซอน มีการสร้างอนุสาวรีย์หินใหญ่มีการแกะสลักลวดลาย เพื่อปกป้องคนตาย หืออุทิศให้ผู้ตายซึ่งพบอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ที่เมืองเชียงขวาง ที่ประเทศลาว
3. สังคมระดับเมือง
พบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นการรวมตัวของหมู่บ้านหลายหมู่บ้านเข้าเป็นเมืองในช่วง
พุทธศตวรรษที่ 6-12 โดยมีการกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีผู้คนที่เป็นชาวพื้นเมืองและอพยพมาจากทิ่อื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งมีการติดต่อกับดินแดนภายนอก เช่น มอญ เขมร จีน ในด้านการค้า และการรับวัฒนธรรม เช่น ด้านภาษา ด้านศาสนา ด้านวรรณกรรม ด้านการปกครอง ด้านศิลปกรรม ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ของประชากรในประเทศไทยและ
เอเชีย ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยทางภูมิประเทศ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กระจายตัวอยู่ในที่ต่างๆไม่เท่ากันขึ้น
อยู่กับลักษณะทางกายภาพที่จะส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค เช่น
1.1 ที่ตั้งตามละติจูด เขตร้อนหรือเขตละติจูดต่ำมีการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ราบสูง
มาก เพราะอากาศเย็นสบายกว่าพื้นราบ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยซึ่งมีพัฒนาการความเจริญมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น อารยธรรมบ้านเชียง อ. หนองหาน จ.อุดรธานี
1.2 ความสูงต่ำของพื้นที่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการเพาะปลูก การคมนาคมสะดวก เช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ท่าจีน บางปะกง ในภาคกลางของไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชา และเวียดนาม ลุ่มแม่น้ำแดง ลุ่มแม่น้ำแยงชีเกียง ล่มแม่น้ำพรมบุตร ลุ่มแม่น้ำคงคา ฯลฯ ดินแดนเหล่านี้เป็นแหล่งอารยธรรมความเจริญมาช้านาน
1.3 ชนิดของดิน ดินบริเวณดินดอนสามเหลียมปากแม่น้ำเป็นที่ราบดินตะกอนที่
น้ำพัดพามา และดินที่เกิดจากภูเขาไฟที่เกาะชวาในประเทศอินโดนีเซียบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มักมีประชากรหนาแน่น
1.4 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงานมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจดึงดูดให้
ผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐาน เช่น ถ่านหิน ดีบุก และน้ำมันปิโตรเลียม หลายภูมิภาคในทวีปเอเชีย เช่น เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเป็นต้น มีทรัพยากรเหล่านี้ซึ่งมีประโยชน์ และคุณค่าทางเศรษฐกิจ
2. ปัจจัยทางภูมิอากาศ ภูมิอากาศและพืชพันธ์ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดการตั้งถิ่นฐาน
ของมนุษย์ ประเทศไทยและภูมิภาคในทวีปเอเชีย มีภูมิอากาศที่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน ดังนี้
2.1 ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร หรือป่าฝนเมืองร้อน มีฝนตกตลอดปี และมี
อุณหภูมิสูง ประชากรในแถบนี้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ภาคใต้ของไทยประกอบอาชีพเก็บของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชเมืองร้อน เช่น อ้อย ข้าวเจ้า เครื่องเทศ ยางพารา เป็นต้น
2.2 ภูมิอากาศแบบมรสุม ลักษณะอากาศฤดูร้อนจะร้อน ฝนตกชุกในฤดูที่มรสุม
พัดผ่าน ประชากรประกอบอาชีพเพาะปลูก ทำป่าไม้ เช่น ไทย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น
2.3 ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือสะวันนา มีอุณหภูมิสูงตลอดปี ฝนตก
ระยะสั้นประชากรประกอบอาชีพทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ฝ้าย อ้อย สับปะรด ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณตอนกลางของอินเดียพม่า และคาบสมุทรอินโดจีน เป็นต้น
2.4 ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น มีฝนตกในฤดูร้อน ฤดูหนาวค่อนข้างหนาว ได้แก่บริเวณ ภาคตะวันออกของจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ตอนเหนือของอินเดีย ลาว และตอนเหนือของเวียดนามปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นพืชเมืองหนาว
3. ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นตัวกำหนดแบบแผนในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เช่น ความเชื่อถือ ศาสนา การประกอบพิธีกรรม ซึ่งทวีปเอเชียเป็นทวีปที่เป็นต้นกำเนิดศาสนาที่สำคัญ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนคริสต์ ศาสนายูดาย เป็นต้น