วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์

GIS A Computerized database management system for capture storage retrieval analysis and display of spatial  ( locationally defined ) data " ( NCGIA : National Center Geographic Information and Analysis, 1989 )
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับการดึงการวิเคราะห์การจัดเก็บและแสดงผลของข้อมูล (ตามที่กำหนด locationally) พื้นที่"(NCGIA : ข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติศูนย์และการวิเคราะห์, 1989)



ลักษณะข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Gcographic Features)
  ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
    -  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 
          -   สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
  แสดงลงบนแผนที่ ด้วย 
    - จุด (Point)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนเส้น
      และพื้นที่ได้
    - เส้น (line)=จุดแสดงรูปลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เล็กจนไม่สามารถแสดงบนพื้นที่ได้
    - พื้นที่ (Area หรือ Polygon)= แสดงรูปร่างและตำแหน่งทางภูมิศาสตร์
    - ตัวอักษร (Text)
  อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
    - สี (Color)
    - สัญลักษณ์ (Symbol)   
    - ข้อความบรรยาย (Annotation)
    - ที่ตั้ง (Location)


credit: ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. 


Map and Gis
สำหรับประเทศไทยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่และให้ความสนใจกันมากในปัจจุบัน แต่ความเป็นจริงได้มีการศึกษาวิจัยในรูปของ GIS มาหลายปีแล้ว เพียงแต่ไม่ได้เรียกว่า GIS เช่น การศึกษาการจัดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำได้มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน (Land-Use) ลักษณะพืชพรรณ (Vegetation Type) ความสูง (Elevation) ความลาดชัน (Slope) ทิศด้านลาด (Aspect) ธรณีวิทยา (Geology) และดิน (soil) ของพื้นที่ลุ่มน้ำที่ศึกษา ข้อมูลเหล่านี้จะจัดอยู่ในรูปของแผนที่ซึ่งจัดว่าเป็นระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือ GIS อันหนึ่ง ดังนั้น GIS จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับแผนที่นั่นเอง  และก่อนที่จะใช้ GIS กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำ Map Processing กล่าวคือแผนที่นั้นเอง เวลาที่มองบนกระดาษก็เห็นเป็นเส้นเป็นแนว เป็นตัวอักษรแสดงชื่อสถานที่และเป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงลักษณะต่างๆ ของภูมิศาสตร์ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าข้อมูลบนแผนที่นั้นคือ Location Index อย่างเช่น ลองจิจูด และละติจูด นั่นเอง ดังนั้นการทำ Map Processing ก็คือการเปลี่ยนระบบพิกัดแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่งนั้นเอง รวมทั้งการย่อขยายหรือเปลี่ยนมาตราส่วนของแผนที่ด้วย ต่อมาภายหลัง ค.ศ. 1960 จึงได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการ ทำ GIS ในเรื่องเกี่ยวกับแผนที่นั้นมี 2 อย่าง คือ
1) การสร้างแผนที่
2) การเรียกค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแผนที่
การสร้างแผนที่นั้นทำได้ง่ายเพราะมีวิธีการต่างๆ มากมายแต่การเรียกค้นแผนที่ไม่ใช่ง่าย และส่วนใหญ่ยังต้องทำด้วยมือ แต่เรื่องที่ยุ่งยากที่สุดสำหรับงานแผนที่ และ GIS ก็คือ ปริมาณข้อมูลที่มีมากเกินไป เพราะข้อมูลแสดงตำแหน่งในแผนที่ซึ่งเรียกว่า Spatial Data ที่ใช้นั้นมีมาก ตัวอย่างเช่น สองปีที่ผ่านมามีคนคิดทำโครงการเสนอรัฐบาลสหรัฐว่า จะจัดทำระบบ GIS เก็บข้อมูลภูมิศาสตร์ของโลก โดยตีเป็นตารางห่างกันสิบเมตร และเก็บรายละเอียดตรงจุดตัดของเส้นบนตารางไว้ในคอมพิวเตอร์พบว่าต้องใช้เนื้อที่ในการเก็บข้อมูลขนาดเท่ากับตึกสองนั้นขนาดเนื้อที่เท่ากรุงเทพฯ ทั้งเมือง จึงจะเก็บข้อมูลได้หมด จากที่กล่าวมาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ในที่สุด
credit 

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Database Management System (DBMS)

lฐานข้อมูล (Database)คือ เป็นการรวบรวมแฟ้มข้อมูลหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลที่มี
ความสัมพันธ์กันเก็บไว้ในที่ที่เดียวกัน ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น จาน
แม่เหล็กหรือดิสก์ เพื่อสะดวกในการบันทึก จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อให้บุคลากรจากหลาย ๆ หน่วยงานสามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ เช่น
ฐานข้อมูลบุคลากร

 DBMS หรือ Database Management System คือ โปรแกรมที่ทำหน้าเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้ (user) กับฐานข้อมูลเพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่าง ไปจากระบบแฟ้มข้อมูลคือ หน้าที่เหล่านี้จะเป็นของโปรแกรมเมอร์ ในการต่อฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่ม DML หรือ DDLหรือจะด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ทุกคำสั่งที่ ใช้กระทำกับฐานข้อมูลจะถูกโปรแกรม DBMS นำไปแปล (Compile) เป็นการกระทำ (Operation) ต่างๆภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลในฐานข้อมูลต่อไปส่วนการทำงานต่าง ๆ ภายในโปรแกรม DBMS ที่ทำหน้าที่ในการแปลคำสั่งไปเป็นการ กระทำต่าง ๆ ดังนี้
     1) Database Manager เป็นส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดการกระทำต่าง ๆ ให้กับส่วน File Manager เพื่อไปกระทำกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล File Manager เป็นส่วนที่ทำหน้าที่บริหาร และจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลในระดับกายภาพ
     2) Query Process เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงประโยคคำสั่งของ Query Language ให้อยู่ในรูปแบบของคำสั่งที่ Database Manager เข้าใจ
     3) Data Manipulation Language Precompiler เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DML ให้อยู่ในรูปแบบที่ส่วน Application Programs Object Code จะนำไปเข้ารหัสเพื่อส่งต่อไปยังส่วน Database Manager ในการแปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DML ของ Data Manipulation Language Precompiler นี้ จะต้องทำงานร่วมกับส่วน Query Processor
     4) Data Definition Language Precompiler เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลประโยคคำสั่งของกลุ่มคำสั่ง DDL ให้อยู่ในรูปแบบของ Meta Data (รายละเอียดที่บอกถึงโครงสร้างต่าง ๆ ของข้อมูล) ที่เก็บอยู่ในส่วน Data Dictionary ของฐานข้อมูล
     5) Application Programs Object Code เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งต่าง ๆ ของโปรแกรมรวมทั้งคำสั่งในกลุ่มคำสั่ง DML ที่ส่งต่อมาจากส่วน Data Manipulation Language Precompiler ให้อยู่ในรูปของ Object Code ที่จะส่งต่อไปให้ Database manager เพื่อกระทำกับข้อมูลในฐานข้อมูล
    
     โปรแกรม DBMS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ทำให้มีความเป็นอิสระจากทั้งส่วนของฮาร์ดแวร์ และข้อมูลภายในฐานข้อมูลกล่าวคือโปรแกรม DBMS นี้จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูลรวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลแทนคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงประเภทหรือขนาดของข้อมูลนั้นหรือสามารถกำหนดลำดับที่ของฟิลด์ ในการกำหนดการแสดงผลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงลำดับที่จริงของฟิลด์ นั้น

                        หน้าที่ของ DBMS
     โปรแกรม DBMS ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางด้าน Data Independence ที่ไม่มีในระบบแฟ้มข้อมูล ดังนั้นจึงมีความเป็นอิสระจากทั้งตังฮาร์ดแวร์ และตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูล กล่าวคือ โปรแกรม DBMS จะมีการทำงานที่ไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบ (Platform) ของตัวฮาร์ดแวร์ ที่นำมาใช้กับระบบฐานข้อมูล รวมทั้งมีรูปแบบในการอ้างถึงข้อมูลที่ไม่ขึ้นอยู่กับ โครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล ด้วยการใช้ Query Language ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูล หน้าที่ของโปรแกรม DBMS โดยสรุปมีดังนี้
          1.) ทำหน้าที่แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ข้อมูลเข้าใจ
          2.) ทำหน้าที่ในการนำคำสั่งต่างๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้วไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ข้อมูล (Retrieve) การจัดเก็บข้อมูล (Update) การลบข้อมูล (Delete) หรือ การเพิ่มข้อมูลเป็นต้น (Add) ฯลฯ
          3.) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำได้
          4.) ทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
          5.) ทำหน้าที่เก็บรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ใน Data Dictionary ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า "ข้อมูลของข้อมูล" (Meta Data)
          6.) ทำหน้าที่ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ









วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลเชิงพื้นที่ในลักษณะต่างๆ

Spatial Distribution = การกระจายเชิงพื้นที่
อาจพิจารณาประเภท จำนวน ขนาด ความหนาแน่น ระยะห่าง รูปแบบ เช่น ความหนาแน่นของประชาการของหัวเมืองใหญ่ซึ่งมีขนาดพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าเมืองปกติ


Spatial Differentiation = ความแตกต่างเชิงพื้นที่
ในพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในหลายๆด้าน พื้นที่แต่ละส่วนจะไม่เหมือนกันในหลายประการ อาจเป็นสิ่งแวดล้อม พื้นที่สูง-ตำของแต่ละบริเวณนั่นๆ เช่น ลักษณะของความเป็นอยู่ของคนในภาคกลางซึ่งเป็นที่ราบสูงจะต่างกับคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Spatial Diffusion
 = การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่
หมายถึงการที่นวัตกรรมแพร่กระจายจากจุดกำเนิดไปยังบริเวณอื่นๆ  สามารถศึกษาประเภท เส้นทาง และสร้างแบบจำลองกระบวนการแพร่กระจาย เช่น การกระจายตัวของการขนส่งคมนาคม


Spatial Interaction = การปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ต่างๆ ในสถานที่ หรือระหว่างพื้นที่ซึ่งอาจมีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกัน เช่น  มหาสมุทรก็จะมีปลาอาศัยอยู่หลายสายพันธุ์


Spatial Temporary = ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมที่ก็จะต่างกันออกไปตามช่วงเวลาของพื้นที่แต่ละส่วน เช่นการแบ่งเวลาในแต่ล่ะประเทศ

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิจารณ์เพลง

เพลง ฤดูที่แตกฤดูที่แตกต่าง(Season Change)
 




อดทนเวลาที่ฝนพรำ

อย่างน้อยก็ทำให้เรา

ได้เห็นถึงความแตกต่าง

เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง

ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ

ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

หากเปรียบกับชีวิตของคน

เมื่อยามสุขล้นจนใจมันยั้งไม่อยู่

ก็คงเปรียบได้กับฤดู

คงเป็นฤดูที่แสนสดใส

* (และ)แต่ถ้าวันหนึ่งวันไหน

ที่ใจเจ็บจนทุกข์

ดั่งพายุที่โหมเข้าใส่

บอกกับตัวเองเอาไว้

ความเจ็บต้องมีวันหาย

ไม่ต่างอะไรที่เราต้องเจอทุกฤดู

** อดทนเวลาที่ฝนพรำ

อย่างน้อยก็ทำให้เรา

ได้เห็นถึงความแตกต่าง

เมื่อวันเวลาที่ฝนจาง

ฟ้าก็คงสว่างและทำให้เราได้เข้าใจ

ว่ามันคุ้มค่าแค่ไหนที่เฝ้ารอ

เมื่อวันที่ต้องเจ็บช้ำใจ

จากความผิดหวังจนใจมันรับไม่ทัน

เป็นธรรมดาที่เราต้องไหวหวั่น

กับวันที่อะไรมันเปลี่ยนไป

( ซ้ำ * , ** )

อย่าไปกลัวเวลาที่ฟ้าไม่เป็นไร

อย่าไปคิดว่ามันเป็นวันสุดท้าย

น้ำตาที่ไหลย่อมมีวันจางหาย

หากไม่รู้จักเจ็บปวด

ก็คงไม่ซึ้งถึงความสุขใจ
( ซ้ำ ** )








คำวิจารณ์
เป็นเพลงที่มีเนื้อหาที่ดี  ฟังสบาย  มีลักษณะเนื้อหาที่ให้กำลังใจคน ซึ่งมนุษย์เรานั้นต้องประสบพบเจอกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิต มีทั้งอารมณ์ซึ้ง   เศร้า  ดีใจ   เสียใจ  ซึ่งนำมาเปรียบกับฤดูกาล ที่มีถึง3  ฤดู และเพลงนี้จะเป็นกำลังใจให้ทุกคน  ที่กำลังท้อแท้ หมดหวัง ทั้งในด้านการเรียน และการทำงาน

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การจัดการฐานข้อมูลการจัดการฐานข้อมูลอ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ  
        
           ข้อมูล (DATA)

            หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล  วัตถุหรือสถานที่  ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต  การเก็บรวบรวม  การวัด   ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ    ตัวเลข   ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง  ตัวอย่างข้อมูล เช่น คะแนนสอบ  ชื่อนักเรียน  เพศ  เป็นต้น



          สารสนเทศ  (INFORMATION)             หมายถึง  ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล    ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้  ตัวอย่างของสารสนเทศ  เช่น  การนำคะแนนสอบมาตัดเกรด  เกรดที่ได้คือสารสนเทศ  ซึ่งสามารถนำไปช่วยในการตัดสินบางสิ่งบางอย่างได้  เป็นต้น  สารสนเทศที่ดีจะต้องเกิดจากข้อมูลที่ดีเช่นกัน

   
      DATA                                          PROCESS                                            INFORMATION
                      
                                                          
          
   คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
                       1. มีความถูกต้อง  เพราะข้อมูลที่ได้ต้องนำไปใช้ในการตัดสินใจ
                       2. มีความเที่ยงตรง  แม่นยำ เชื่อถือได้
                       3. มีความเป็นปัจจุบัน  ตรงตามความต้องการของผู้ใช
                       4. มีหลักฐานอ้างอิง  เชื่อถือและตรวจสอบได้ถึงแหล่งที่มา
                       5. มีความสมบูรณ์ชัดเจน  เพื่อสำรวจได้อย่างทั่วถึง

             การประมวลผลข้อมูลไปสู่สารสนเทศ
                       ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้จะต้องดำเนินการกับข้อมูลนั้นเสียก่อนดังนี้
                                      1. การรวบรวมข้อมูล
                                      2. การประมวลผล
                                      3. การดูแลรักษาสารสนเทศที่ได้

                        การรวบรวมข้อมูล

                             หมายถึงการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น  และนำมาเก็บอย่างเป็นระบบ  ขั้นตอนนี้จะต้องระมัดระวังเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดี  ตรงกับคุณสมบัติของข้อมูลที่ด  ี  ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าจึงเก็บรวบรวมข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและง่ายขึ้นมาก  เช่น การเก็บรวมรวมข้อมูลพนักงานบริษัทมีการสแกนลายนิ้วมือ  รูปร่างหน้าตา  บันทึกไว้ในฐานข้อมูล  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่ซ้ำกัน  และสามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
                        การประมวลผลข้อมูล  แบ่งได้ 3 ประเภท  ดังนี้
                             1.  การประมวลผลด้วยมือ  เหมาะกับข้อมูลไม่มากและไม่ซับซ้อน  เป็นวิธีที่ใช้ในอดีต  อุปกรณ์ในการคำนวณเช่น
                                  เครื่องคิดเลข  ลูกคิด  กระดาษ  การจัดเก็บโดยการเรียงเข้าแฟ้มข้อมูล
                             2.  การประมวลผลด้วยเครื่องจักร  เหมาะกับข้อมูลจำนวนปานกลาง  ไม่จำเป็นต้องใช้ผลการคำนวณในทันทีทันใด
                                  เพราะต้องใช้เครื่องจักรและแรงงานคน
                             3.  การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์    เป็นวิธีที่เหมาะกับจำนวนข้อมูลมาก ๆ  มีการคำนวณที่ซับซ้อนยุ่งยากเพราะ                                   การคำนวณกับคอมพิวเตอร์จะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว
                         การดูแลรักษาสารสนเทศ
                              เป็นขั้นตอนที่ต้องการคัดลอกข้อมูล  ถึงแม้ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์แต่การสำเนาข้อมูลเพื่อการเก็บรักษาถือว่าเป็นสิ่ง  สำคัญและจำเป็นมากเนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะเสียหายได้โดยที่เราไม่ได้คาดคิด   การเก็บรักษาข้อมูลควรจะเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยหรือเลือกใช้สื่อบันทึกที่มี่คุณภาพไม่เสื่อมอายุง่าย ๆ
                          ชนิดของข้อมูล
                              1.  ข้อมูลตัวเลข (Numeric)   ได้แก่ตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งนำไปใช้คำนวณได้  เช่น
                                              ตัวเลขจำนวนเต็ม  เช่น  9,10,190,9999  เป็นต้น
                                              ทศนิยม    เช่น  2.50,100.95, 50.25  เป็นต้น
                              2.  ข้อมูลตัวอักษร (Character)  ได้แก่ ตัวอักขระ  และตัวอักษรต่าง ๆ ซึ่งไม่สามารถนำไปคำนวณได้  แต่นำไปจัด
เรียงลำดับได้  เช่น  TECHNOLOGY , 870/83 (เลขที่บ้าน) , 90110 (รหัสไปรษณี)  เป็นต้น
                       รหัสแทนข้อมูล
                                  รหัส  แอสกี (ASCII)  เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นรหัสที่มาตรฐาน
                                  ASCII  ย่อมาจาก  American  Standard  Code  for  Information  Interchange  เป็นรหัส 8 บิด  หรือ 1 ไบต์ต่อ
หนึ่งอักขระและแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว
                                  รหัสแอสกี  กำหนดไว้เป็นเลขฐานสิบ   เมื่อไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จะเปลี่ยนเป็นเลขฐานสอง  และผู้ใช้งานสามารถเขียนในรูปของแลขฐาน 16  ได้ด้วย
                            ตารางแสดงรหัสแอสกีที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ
                            การแปลงฐานเลข